หน้าเว็บ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ - รัชกาลที่ 5





















สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 5

พุทธศักราช 2411
  • เริ่มรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
  • 25 พฤษภาคม-พิธีเปิดคลองดำเนินสะดวก
  • ก่อตั้งวัดโพธิ์ดก ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.ราชบุรี
พุทธศักราช 2412 (ร.ศ.88)
  • เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เริ่มสร้างถนน "หลังเมือง" กับถนนเริ่มจากหน้าเมืองราชบุรีไปถึงเขาวัง เรียกว่า "ถนนเขาวัง" แล้วต่อมาได้มีการสร้างขยายไปจนบริเวณเขาแก่นจันทน์ ซึ่งต่อมาถนนสายนี้มีชื่อเรียกกันว่า "ถนนศรีสุริยวงศ์"
พุทธศักราช 2413 (ร.ศ.89)
  • เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ปฏิสังขรณ์วัดโพงาม แล้วนำพระพุทธรูปองค์ใหญ่จากวัดบนเขาสัตนารถมาประดิษฐานไว้ที่วัดแห่งนี้ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น วัดสัตนารถปริวัตร์
พุทธศักราช 2414
  • สร้างพระราชวังขึ้นบนเขาสัตตนารถ(เขาวัง) โดยผาติกรรมวัดที่เคยมีอยู่เดิมมาสร้างใหม่ที่บริเวณบ้านไร่ (วัดสัตตนารถปริวัตร ในปัจจุบัน)
  • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนิน เขาวัง ราชบุรี (ดูรายละเอียด)
  • ก่อตั้งวัดสมถะ ต.บางโตนด อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
พุทธศักราช 2415
  • เริ่มสร้าง "วัดศรีสุริยวงศ์วงศาราม" ด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เพื่อเป็นวัดประจำตระกูลบุนนาค ซึ่งปัจจุบันเรียกโดยทั่วไปว่า "วัดศรีสุริยงศ์"
  • ก่อสร้างวัดตรีญาติ ต.พงสวาย อ.เมือง จ.ราชบุรี
พุทธศักราช 2416
  • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนิน ท้องที่เมืองราชบุรี ประทับแรม 3 คืน (ดูรายละเอียด) ในการเสด็จครั้งนี้พบบันทึกเพิ่มเติมว่า ทรงเสด็จพระราชดำเนินผ่านชาวกะเหรี่ยงสวนผึ้งที่บ้านด่านทับตะโก ผู้นำกะเหรี่ยงได้นำลูกบ้านมาเฝ้ารับเสด็จ และได้กราบบังคมทูลให้เสด็จฯ ไปประทับ ณ ที่แห่งใหม่ ริมลำน้ำภาชีที่มีภูมิทัศน์สวยงามกว่า และเป็นที่ทรงโปรดปรานมาก
พุทธศักราช 2417
  • ก่อตั้งวัดมะเดื่อ ต.สวนกล้วย อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
พุทธศักราช 2420
  • 16 กุมภาพันธ์ - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินเมืองราชบุรีและประทับแรมที่พลับพลาโพธารามและพระราชวังบนเขาสัตตนารถ(เขาวัง) ที่โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค) เป็นผู้อำนวยการสร้างขึ้น เพื่อเสด็จออกรับราชฑูตโปรตุเกตุที่เข้าเฝ้า ณ พระราชวังบนเขาสัตตนารถ (เขาวัง) (ดูรายละเอียด) (ดูภาพ)
  • ก่อตั้งวัดบ้านซ่อง ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.ราชบุรี
  • ก่อตั้งวัดท่าหลวงพล ต.ท่าชุมพล อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • ก่อตั้งวัดบางโตนด ต.บางโตนด อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • ก่อตั้งวัดหุบมะกล่ำ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
พุทธศักราช 2421
  • สร้างวัดศรีสุริยวงศ์แล้วเสร็จ
พุทธศักราช 2423
  • ก่อตั้งวัดพญาไม้ ต.โคกหม้อ อ.เมือง จ.ราชบุรี (ดูรายละเอียด)
  • ก่อตั้งวัดท้ายเมือง ต.พงสวาย อ.เมือง จ.ราชบุรี
  • ก่อตั้งวัดโพธิ์ราษฎร์บูรณะ ต.พงสวาย อ.เมือง จ.ราชบุรี
พุทธศักราช 2427
  • ก่อตั้งวัดบ้านกล้วย ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.ราชบุรี
  • ก่อตั้งวัดสุรชายาราม ต.หลุมดิน อ.เมือง จ.ราชบุรี
  • ก่อตั้งวัดหัวหิน ต.นครชุมน์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
พุทธศักราช 2430
  • ก่อตั้งวัดโพธิ์ไพโรจน์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
พุทธศักราช 2431
  • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินเมืองราชบุรีและประทับแรมที่พลับพลาหลุมดิน ระหว่างที่เสด็จประทับแรม ได้มีการเสด็จประพาสตลาดโพธาราม เมืองโบราณหลุมดิน วัดมหาธาตุ ตลาดเมืองราชบุรี พระราชวังเก่าเมืองราชบุรี(พระราชวังริมน้ำ)วัดศรีสุริยวงศ์ พระราชวังบนเขาสัตตนารถ(เขาวัง) และเขางู (ดูรายละเอียด) (ดูภาพ)
พุทธศักราช 2433
  • ชาวมอญบริเวณบ้านบางเลาทั้งสองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง (บริเวณวัดคงคาราม) รวม 6 ครอบครัว พากันอพยพหนีจากพระราชอาณาจักรสยาม เลียบแม่น้ำแดงใหญ่ออกชายแดนไป และต่อมาพบว่ามีอีก 29 ครอบครัวจากบ้านบางเลา หนีออกไปทางด่านบ้องตี้
พุทธศักราช 2434
  • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสถ้ำจอมพล และได้ทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อ "จปร." ไว้บนผนังถ้ำบริเวณทางเข้าด้วย (ดูรายละเอียด) (ดูภาพ)
  • ก่อตั้งวัดโบสถ์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • ชาวมอญ เขมร และลาวบริเวณโพธารามหนีออกนอกพระราชอาณาเขตสยามอีก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงกำชับกรมหมื่นเทววงศ์วโรปการ ให้กำชับเจ้าเมืองกาญจนบุรี เจ้าเมืองราชบุรี และหลวงยกกระบัตรเมืองท่าตะกั่ว ร่วมกันสืบหาสาเหตุ
พุทธศักราช 2436 (ร.ศ.112)
  • จัดตั้งอำเภอคลองแพงพวย (อ.ดำเนินสะดวกในปัจจุบันนี้) ตั้งที่ว่าการอยู่ที่ปากคลองแพงพวย
พุทธศักราช 2438 (ร.ศ.114)
  • เริ่มจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ราชบุรี โดย จ.ราชบุรี ถูกเลือกให้เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางมณฑลราชบุรี อันประกอบด้วย ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สมุทรสงคราม ปราณบุรี ประจวบคิรีขันธ์ และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าให้พระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งพระยาสุรินทร์ฤาไชย เจ้าเมืองเพชรบุรี เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรีคนแรก และยังโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศูนย์กลางของเมืองเดิม (บริเวณกรมการทหารช่าง) มายังอีกฝั่งของแม่น้ำ ตรงบริเวณที่เป็นย่านตลาดในปัจจุบัน
  • มิสเตอร์ เอช.วาริงตัน สมิธ ชาวอังกฤษ ซึ่งรับราชการไทยอยู่ ในตำแหน่งรองเจ้ากรมโลหะกิจและภูมิวิทยา ดำเนินการสำรวจทางธรณีวิทยาและหาสายแร่ดีบุก แถบ อ.สวนผึ้ง
  • ตั้งกิ่งอำเภอจอมบึง -มีอาคารที่ว่าการอยู่ที่หมู่บ้านเกาะ
  • จัดตั้งอำเภอบ้านโป่ง -เดิมอำเภอนี้เรียกว่าอำเภอท่าผา เพราะตั้งอยู่ที่ตำบลท่าผา ในปีนี้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ตำบลบ้านโป่ง จึงเรียกชื่อใหม่ว่าอำเภอบ้านโป่ง
  • จัดตั้งอำเภอโพธาราม -เดิมอำเภอนี้เรียกว่าอำเภอเจ็ดเสมียน ในปีนี้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ตำบลโพธาราม จึงเรียกชื่อใหม่ว่าอำเภอโพธาราม
  • ยุบเมืองด่านตะวันตก "รามัญ 7 เมือง" ในจังหวัดกาญจนบุรี
พุทธศักราช 2439 (ร.ศ.115)
  • จัดตั้งอำเภอท่านัดวัดประดู่ (อำเภอปากท่อปัจจุบัน)
พุทธศักราช 2440 (ร.ศ.116)
  • พระยาอมรินทร์ฤาไชย (เทียน บุนนาค) ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
  • แบ่งการปกครองจังหวัดราชบุรี ออกเป็น 5 อำเภอ
  • ย้ายศาลากลางเมืองราชบุรีจากฝั่งซ้าย (ฝั่งตะวันอออก) ของแม่น้ำแม่กลอง (ตั้งแต่รัชสมัยของพระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2) มารวมกันที่ศาลาว่าการมณฑลราชบุรี จึงส่งผลให้ศูนย์กลางเมืองราชบุรีกลับมาเจริญทางฝั่งขวา (ฝั่งตะวันตก) ของแม่น้ำแม่กลองตราบจนปัจจุบันนี้
  • จัดตั้งอำเภอดำเนินสะดวก -ย้ายที่ว่าการอำเภอคลองแพงพวย มาตั้งในคลองดำเนินสะดวก ณ ที่บ้านศรีสุราษฎร์ตำบลหลักหก
พุทธศักราช 2441 (ร.ศ.117)
  • ย้ายที่ตั้งอำเภอเมืองราชบุรี จากตำบลธรรมเสน มา ณ ที่ตั้งในเขตเมืองปัจจุบันนี้ (สมัยก่อนยังเรียกว่าแขวง มีพระรามบริรักษ์เป็นนายแขวง พอย้ายมาตั้งในเขตเมือง มีพระแสนท้องฟ้า (ป้อง ยมคุปต์) เป็นนายอำเภอ
  • จัดตั้งโรงเรียนหลวงในวัดสัตตนารถปริวัตร ตามพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ปรับปรุงการศึกษาให้มีระบบแบบแผนตามแบบตะวันตก
  • ยกฐานะกองทหารที่ตั้งอยู่ในเมืองราชบุรีขึ้นเป็นกรมเรียกว่า "กรมบัญชาการทหารบกมณฑลราชบุรี" สังกัดกระทรวงยุทธนาธิการ (ปัจจุบันคือกระทรวงกลาโหม)
  • พระจินดารักษ์ (นุด มหานิรานนท์) ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
พุทธศักราช 2442 (ร.ศ.118)
  • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสถ้ำสาริกา และได้ทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อ "จปร."ไว้บนผนังถ้ำบริเวณทางเข้าอีกด้วย (ดูรายละเอียด) (ดูภาพ)
  • พระยาวรเดชศักดาวุธ (เจ๊ก จารุจินดา) ขึ้นดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลราชบุรี
  • สร้างศาลเจ้าพ่อกวนอู อ.เมืองราชบุรี (ข้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ราชบุรี) โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มอบที่ดินจำนวน 2 ไร่ 37 ตารางวา ชาวเมืองราชบุรีโดยการนำของ นายฮวงฮะ แซ่อึ้ง นายเซียมง้วน แซ่เตียว ร่วมกันสละทรัพย์สินตามศรัทธา
  • พระยาอมรินทร์ฤาไชย (จำรัส รัตนกุล) ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
พุทธศักราช 2443 (ร.ศ.119)
  • ก่อตั้งวัดชัยรัตน์ ต.ท่าชุมพล อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • ก่อตั้งวัดบ้านฆ้อง ต.บ้านฆ้อง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • ย้ายที่ว่าการอำเภอท่านัดวัดประดู่ ไปตั้งที่ตำบลวัดเพลง เปลี่ยนชื่ออำเภอท่านัดวัดประดู่เป็นอำเภอแม่น้ำอ้อม
พุทธศักราช 2444 (ร.ศ.120)
  • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินเพื่อประกอบพิธีเปิดสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลอง "จุฬาลงกรณ์" (ดูรายละเอียด) (ดูภาพ)
  • พระยาอมรินทร์ฤาไชย (จำรัส รัตนกุล) ขึ้นดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลราชบุรี
  • ย้ายที่ว่าการอำเภอดำเนินสะดวกจากตำบลหลักหก มาตั้งที่ศาลาห้าห้อง ตำบลท่านัด
  • ก่อตั้งวัดอนกระเบื้อง หรือ วัดนักบุญมีคาแอลดอนกระเบื้อง (ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค) ณ ต.ดอนกระเบื้อง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
พุทธศักราช 2445
  • พระยาสัจจาภิรมย์ (ชุ่ม อรรถจินดา) ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
  • 31 มีนาคม - ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ นครปฐม ราชบุรี ถึงเพชรบุรี ก่อสร้างแล้วเสร็จ
พุทธศักราช 2446
  • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินเพื่อนำทหารมาฝึกที่ค่ายหลุมดิน (ดูรายละเอียด)
  • พระยาไกรเพ็ชรรัตนสงคราม (แฉ่ บุนนาค) ขึ้นดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลราชบุรี
  • ก่อตั้งวัดบ้านสิงห์ ต.บ้านสิงห์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
พุทธศักราช 2447
  • 16 กรกฏาคม- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นการเสด็จประพาสต้นครั้งแรก อันปรากฏหลักฐานในจดหมายเล่าเรื่องตามเสด็จที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ไว้ เป็นจดหมายเหตุนายทรงอานุภาพ หุ้มแพรมหาดเล็กเล่าเรื่องเสด็จประพาสเขียนส่งให้นายประดิษฐ์ ซึ่งการเสด็จประพาสต้นครั้งนี้ ได้ทรงพบกับยายผึ้งและเจ๊กฮวดผู้เป็นบุตรชายที่ถวายการต้อนรับเป็นอย่างดี และเป็นที่โปรดปรานอย่างมาก ประทับแรม ณ วัดโชติทายการาม (ดูรายละเอียด)
  • เกิดอหิวาตกโรคระบาดทั่วหมู่บ้านนครชุมน์ และชุมชนมอญริมสองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ตั้งแต่บ้านโป่งถึงโพธาราม และต่อจากนั้นก็มีโรคฝีดาษระบาดขึ้น ชาวบ้านล้มตายกันเป็นจำนวนมาก ได้คุณหมอคลาร์ก จากคณะเชิชเชส ออฟ ไครสต์ ที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาที่ "บ้านฝรั่ง ดงตาล" เป็นผู้รักษาดูแลให้ความช่วยเหลือ (อ่านเพิ่มเติมใน บ้านฝรั่ง ดงตาล)
พุทธศักราช 2448
  • เลิกบ่อนการพนันและบ่อนเบี้ยได้สำเร็จ - โดยดำเนินการเป็นลำดับจากการจำกัดเวลาในการเล่น การส่งพลตระเวนไปคอยสังเกตการณ์ จนในที่สุดก็สามารถยกเลิกบ่อนการพนันและบ่อนเบี้ยในมณฑลราชบุรีได้สำเร็จ ส่งผลดีแก่ราษฎรเป็นอย่างมาก เพราะทำให้การลักขโมยลดน้อยลง ราษฎรมีเวลาในการทำมาหากินมากขึ้นทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจดียิ่งขึ้น
  • หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
พุทธศักราช 2449
  • มีการปรับปรุงอำเภอ เขต แขวงในเมืองต่างๆ ของมณฑลราชบุรี ที่สำคัญได้แก่ การเปลี่ยนแปลงแขวงในเมืองเพชรบุรี ด้วยการรวมอำเภอประจวบคิรีขันธ์ อำเภอปราณบุรี และอำเภอเกิดนพคุณ ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งในเมืองชุมพร ตั้งเป็นเมืองใหม่เรียกว่า "เมืองปราณบุรี" รวมทั้งเพิ่มตำแหน่งข้าราชการประจำมณฑลอีกหลายตำแหน่ง ที่สำคัญได้แก่ ปลัดมณฑล มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ว่าราชการเมืองทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยข้าหลวงเทศาภิบาลเกี่ยวกับราชการต่างๆ ภายในมณฑล  นอกจากนั้นก็มีตำแหน่งแพทย์ประจำมณฑล แพทย์ประจำเมือง และพะทำมะรงหรือพัสดี ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมนักโทษหรือพัสดีในปัจจุบัน ส่งผลให้ราชการต่างๆ ของมณฑลราชบุรีมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลมีเวลาว่างพอที่จะออกตรวจราชการได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน
พุทธศักราช 2450
  • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อำมาตย์โทพระชำนาญวรวัจน์ (ตาบ ผลาชีวะ) เป็นข้าหลวงธรรมการมณฑลราชบุรี รับผิดชอบจัดการศึกษาโรงเรียนหลวงในวัดสัตตนารถปริวัตร ได้เปลี่ยนฐานะเป็น โรงเรียนตัวอย่างวัดสัตตนารถปริวัตร
  • สร้างวัดจันทาราม ต.หนองอ้อ อ.บ้านโป่ง ราชบุรี (ดูรายละเอียด)
  • ก่อตั้งวัดหนองกลางดง ต.ชำแระ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
พุทธศักราช 2452
  • 1 กันยายน -พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสมณฑลราชบุรี อันปรากฏหลักฐานในพระราชหัตถเลขา รวม 4 ฉบับ (ดูรายละเอียด) มีเกร็ดบันทึกไว้ว่า พระองค์ท่านเสด็จรถเจ๊กไปดูแถวตลาดริมน้ำ แล้วเลยไปวัดศรีสุริยวงศ์ เสร็จแล้วกลับมาพักบ้านเทศาภิบาล
  • 8 กันยายน - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินตลาดโพธาราม
  • ก่อตั้งวัดห้วยชินสีห์ ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.ราชบุรี

ไม่มีความคิดเห็น: