หน้าเว็บ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ - รัชกาลที่ 8



สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล   รัชกาลที่ 8  
พุทธศักราช 2477
  • เริ่มรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
  • พันเอกพระยารามณรงค์ (เสงี่ยม สุคนธรักษา) ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
พุทธศักราช 2478
  • หลวงพ่อนวม เจ้าอาวาสวัดแจ้งเจริญ ต.จอมประทัด อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี มรณภาพ หลวงพ่อนวมเป็นที่เคารพนับถือของชาวกะเหรี่ยงทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทุกวันปีใหม่ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ชาวกะเหรี่ยงจะไปร่วมสรงน้ำหลวงพ่อนวม เป็นประจำทุกปี (ดูรายละเอียด)
พุทธศักราช 2480
  • เปิดโรงเรียนวัดม่วง (ศรีประชา) ต.บ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี (อย่างเป็นทางการ)
  • เจดีย์ประธาน วัดเจติยาราม (วัดเจดีย์หัก) อ.เมือง จ.ราชบุรี หักพังทลาย
พุทธศักราช 2482
  • 31 มีนาคม - เวลา 17.00 น.ไฟไหม้ห้องแถวไม้ที่ห้าแยกสะพานแดงรวม 5 ห้อง ในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี ค่าเสียหาย 40,000 บาท เพลิงสงบเวลา 18.00 น.
  • 18 มิถุนายน - พระนิกรบดี (จอน สาริกานนท์) ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
พุทธศักราช 2483
  • สร้างอาคารถาวรศาลเจ้าแม่เบิกไพร อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี (เดิมเป็นเพียงศาลไม้ขนาดเล้กอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ต่อมาน้ำท่วมเซาะตลิ่งพังก็สร้างศาลขึ้นใหม่ เป็นอย่างนี้ถึง 4 ครั้ง จึงค่อยริเริ่มสร้างเป็นอาคารถาวร)
พุทธศักราช 2484
  • โอนอำเภอบ้านโป่งไปขึ้นกับจังหวัดกาญจนบุรี ในระหว่างช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา
พุทธศักราช 2485
  • ทหารญี่ปุ่นพร้อมอาวุธยุทโปกรณ์ตลอดจนยานพาหนะต่างๆ ได้เคลื่อนกำลังเข้ามาตั้งค่ายในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีหลายแห่ง
  • เริ่มก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า จากสถานีหนองปลาดุก-สถานีกองกุยตะ (Konkuita)
  • 15 กุมภาพันธ์ - เวลา 12.00  น. เกิดเพลิงไหม้ห้องแถวไม้ 2 ชั้นของเทศบาลเมืองราชบุรี ถนนวิชิตสงครามข้างศาลจังหวัด เพลิงได้ไหมห้องแถวของเทศบาล จำนวน 14 ห้อง รวมห้องแถวของเอกชนอีก 15 ห้อง รวมทั้งสิ้น 29 ห้อง ค่าเสียหายประมาณ 102,418 บาท 
  • 5 กรกฎาคม -เป็นวันที่หน่วยทหารซากาโมแห่งกองพลทหารรถไฟที่ 9 ของกองทัพญี่ปุ่น ได้ลงมือปักหลักหินบอกเลขกิโลเมตรที่ 0 ของทางรถไฟสายไทย-พม่า หรือที่รู้จักกันดีในนามทางรถไฟสายมรณะ ลง ณ สถานีหนองปลาดุก ในเขตอำเภอบ้านโป่ง (ดูรายละเอียด)
  • 18 ธันวาคม - เกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจบ้านโป่งกับทหารญี่ปุ่นที่ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟที่วัดดอนตูม อ.บ้านโป่ง (ดูรายละเอียด)
พุทธศักราช 2486
  • กองทัพญี่ปุ่น เริ่มดำเนินการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (สถานีหนองปลาดุก-สถานีทันบูยูซายัท)
  • 20 มกราคม - กองทัพญี่ปุ่น นำเชลยศึก กองกำลังดันลอป (D Force) ซึ่งกำเนิดมาจากกองพลทหารออสเตรเลียที่ 878 มีกำลังพลประมาณ 1,000 คน โดยมี พันโทดันลอป (Lieutenant Colonel E.E.Dunlop AAMC) เป็นผู้บังคับบัญชา กองกำลังฯ นี้เคลื่อนย้ายด้วยขบวนรถไฟ มาจากค่ายทหารเชลยศึกที่ชวา มาที่เกาะสิงค์โปร์ และเดินทางต่อมาถึงสถานีบ้านโป่ง เพื่อเตรียมก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า
  • 16 เมษายน - กองทัพญี่ปุ่น นำเชลยศึก กองกำลัง เอฟ (F Force) ประกอบด้วยทหารออสเตรเลีย 3,600 คนและทหารอังกฤษ 3,400 คน ภายใต้การบังคับบัญชาของพันโทแฮริส (Lieitenant Colonel S.W.Harris) แห่งกองพลที่ 18 ของอังกฤษ ออกเดินทางจากค่ายทหารเชลยศึกสงครามที่เมือง ชางจี (Changi) ประเทศสิงคโปร์ เดินทางด้วยรถไฟ จำนวน 13 ขบวน มาลงที่สถานีบ้านโป่ง แล้วเริ่มเดินทางด้วยเท้าต่อไปยัง จ.กาญจนบุรี เพื่อก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า
  • 20 มกราคม - ขุนธรรมรัตน์ธุรทร (ธรรมรัตน์ โรจนสุนทร) ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
พุทธศักราช 2487
  • 11 กันยายน - เวลา 16.40 น. เกิดเพลิงไหม้ตึกแถวของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี ถนนสัจจาภิรมย์ รวม 3 คูหา เพลิงสงบเมื่อเวลา 18.00 น. ค่าเสียหายประมาณ 150,000 บาท
  • 2 พฤศจิกายน - นายอุดม บุญประกอบ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
  • 12 ธันวาคม - หลวงนิคมคณารักษ์ (เทียน กำเนิดเพชร) ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
  • ฝ่ายสัมพันธมิตร โจมตีทางอากาศทิ้งระเบิดค่ายทหารญี่ปุ่นที่สถานีหนองปลาดุก อ.บ้านโป่ง ด้วยเครื่องบิน B-24
พุทธศักราช 2488
  • 14 มกราคม - ประมาณ 22.20 น. ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ ครั้งที่ 1 (ดูรายละเอียด1) (ดูรายละเอียด2)
  • 15 มกราคม -หลวงนิคมคณารักษ์ (เทียน กำเนิดเพชร) เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดราชบุรี (ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี) คนที่ 25 เสียชีวิตในช่วงเช้า จากการตรวจสถานที่ถูกระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณสี่แยกสะพานดำ (ดูรายละเอียด)
  • 30 มกราคม - ประมาณ 23.00-24.00 น.ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ ครั้งที่ 2 (ดูรายละเอียด)
  • 11 กุมภาพันธ์ - ประมาณ 24.00 น. ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ ครั้งที่ 3 (ดูรายละเอียด)
  • 12 กุมภาพันธ์ - ประมาณ 06.30 น. สะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์หักและจม ด้วยลูกระเบิดแบบตั้งเวลา ที่ทิ้งลงมาเมื่อคืนวันที่ 11 กุมภาพันธ์ (ดูรายละเอียด)
  • 5 กุมภาพันธ์ - นายจรัส ธารีสาร ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
  • 31 มีนาคม - พระบำรุงบุรีราช (อิง สิทธิเทศานนท์) ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
  • 3 เมษายน-1 พฤษภาคม ทหารญี่ปุ่นสร้างสะพานรถไฟใหม่ด้วยไม้ หากจากสะพานจุฬาลงกรณ์เดิม 5 เมตร แทนสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ที่หัก
  • 18 เมษายน - ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดโจมตีประตูกั้นน้ำคลองดำเนินสะดวก (ดูภาพ)
  • 20 พฤษภาคม - เวลา 13.50 น.สะพานรถไฟไม้ที่สร้างข้ามแม่น้ำแม่กลอง แทนสะพานจุฬาลงกรณ์ หักเพราะทานน้ำหนักไม่ไหว หัวรถจักรขนาดใหญ่จมส่งสู่แม่น้ำแม่กลอง 
  • 30 พฤษภาคม - เวลา 16.00-17.00 น.ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดสถานีรถไฟราชบุรี
  • 1 มิถุนายน - เวลา 17.00 น. ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดสถานีรถไฟราชบุรี
  • 9 กรกฏาคม - เวลา 16.00 น. ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดประตูน้ำบางนกแขวก และประตูน้ำบางยาง
  • 14 กรกฎาคม - ฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีด้วยปืนตามท่าเรือริมแม่น้ำแม่กลองและสถานีรถไฟราชบุรี
พุทธศักราช 2489
  • 17 กุมภาพันธ์ - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งมายังสโมสรเสือป่า (ปัจจุบันอยู่ในศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี) พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ได้ทรงปฏิสันถารกับราษฎรที่มารับเสด็จฯ อย่างใกล้ชิด จากนั้นเสวยเครื่องว่าง ณ อาคารสโมสรเสือป่า แล้วเสด็จพระราชดำเนินต่อไปยังอำเภอหัวหิน จ.ประจวบคิรีขันธ์ 

1 ความคิดเห็น:

Blog27999 กล่าวว่า...

Your Affiliate Money Making Machine is waiting -

And getting it running is as simple as 1 . 2 . 3!

Here is how it all works...

STEP 1. Input into the system which affiliate products you want to push
STEP 2. Add some PUSH BUTTON TRAFFIC (it LITERALLY takes JUST 2 minutes)
STEP 3. See how the system grow your list and sell your affiliate products all by itself!

Are you ready to make money ONLINE???

Get the full details here